วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทศกาลงานประเพณี : ประเพณีไหลเรือไฟ


ประวัติความเป็นมางานประเพณีไหลเรือไฟ หรืองานประเพณีไหลเฮือไฟ (ในภาษาท้องถิ่น-อีสาน) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลาย จังหวัดในภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล - ชี แม่น้ำโขง เป็นต้น การไหลเรือไฟ ในภาคอีสานนั้นเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัดสันนิษฐานว่าคงมีมาก่อนที่พุทธศาสนา จะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เพราะสมัยก่อนกษัตริย์ไทยยังยึดถือพิธีพราหมณ์อยู่ โดยได้รับอิทธิพลมาจาก อินเดีย สมัยที่นำอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ในแถบสุวรรณภูมิ ดังพบว่าประเพณีงานบุญโดดเด่นที่จัดขึ้น ในภาคอีสานมักเกี่ยวโยงหรือผูกพันกับเรื่องของไฟเกือบทั้งสิ้น เช่น งานแห่เทียนเข้าพรรษา บุญบั้งไฟ พิธีไหลเรือไฟ เพราะมีความเชื่อว่า "ไฟ"เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า เทพอัคคี มีฐานะรอง จากพระอินทร์ สามารถเผาผลาญสิ่งชั่วร้ายและขจัดความทุกข์ยากให้ดับสลายไปได้

จังหวัดนครพนมและหนองคาย(มีทำเลที่ตั้งติดแม่น้ำโขงเหมือนกัน) มีความเชื่อว่า เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ ที่ริมฝั่งน้ำนัมทานที ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่า ครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรม ในพิภพของนาคใต้เมืองบาดาล เมื่อพระองค์เสด็จกลับทางฝ่ายพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอย พระบาทไว้ ณ ริมฝั่งน้ำนัมทานที พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ ณ หาดทรายริมน้ำตามประสงค์ของ พญานาค ซึ่งรอยพระบาทที่ประทับไว้นี้ ไม่เพียงแต่เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพญานาคเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพของเหล่าเทวดาและมนุษย์ด้วย   จนแสดงออกด้วยการไหลเรือไฟบูชารอยพระพุทธบาทของพระองค์

จังหวัดศรีษะเกษ มีความเชื่อว่า เป็นการเซ่นสรวงพญานาค ซึ่งสิงสถิตตามแม่น้ำลำคลอง ให้คุ้มครองผู้ที่สัญจรไปมาทางน้ำ ไม่ให้มีภัยอันตรายเข้ามากล้ำกราย
จังหวัดอุบลราชธานี มีความเชื่อว่า
       - เป็นการบูชารอยพระพุทธบาท
       - เป็นการบูชาพระรัตนตรัยและพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อันได้แก่ พระกกุสันโธ พระโกนา-คมโน พระกัสสโป พระโคตโม และพระอาริยเมตไตร
       - เป็นการบูชาคุณแม่โพสพ คือ บูชาพานข้าว
       - เป็นการบูชาประทีปตามประเพณี
       - เป็นการบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษในความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ หรือพกาพรหม 


กำหนดจัดงานงานประเพณีไหลเรือไฟจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ระหว่างขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ - วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี

ไปเที่ยวกันไหม

เที่ยวทุ่งดอกกระเจียว

เทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน 2553


 

        ทุ่งดอกกระเจียว ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นพรรณไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพียงปีละครั้งเท่านั้น จะเริ่มแทงหน่อใบหูกระต่ายในช่วงต้นฝนประมาณกลางเดือนพฤษภาคม และจะเริ่มแทงหน่อดอกในช่วงต้นเดือน มิถุนายนสีของดอกกระเจียว จะออกสีชมพูอมม่วง และสีขาว ปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์อีกหนึ่งความงามจาก ธรรมชาติ ที่ชูช่อเป็นชั้นเหลื่อมสีชมพูอมม่วงคือ พลอยชมพู จะออกดอกช่วงปลายกรกฏาคมความงาม ของ ดอกกระเจียว ที่ธรรมชาิติสร้างขึ้นจะไสวพริ้ว ไปจนถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคม ของทุกปีหากท่านไม่ได้มาในช่วง เวลาดังกล่าว คงต้องรอปต่อไปีจึงจะได้มาสัมผัสความงามจากธรรมชาตินี้ ดอกกระเจียวเป็นพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นที่นี่ จัดว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย ช่วงเวลาดังกล่าว ต่างแย่งกันชูช่อพริ้วไสวไปตามสายลมหนาว นอกฤดู ปูพรม ด้วยผืนหญ้าสีเขียว ชุ่มช่ำด้วยหยาดน้ำค้าง อาบฉากหลังด้วยม่านสายหมอก ในยามรับรุ่งอรุณของวันใหม่ จึง เหมาะแก่การขึ้นเยือนบนผืน ทุ่งดอกกระเจียวขนาดใหญ่กว่า 1000 ไร่ในยามเช้าตรู่เพราะหากสายกว่าี้บรรยากาศ ในการเข้าเยี่ยมสัมผัสจะแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน การเข้าไปยังทุ่งดอกกระเจียว ท่านต้องนำรถไปจอดที่ลาน จอดรถขนาดใหญ่ซ้ายมือก่อนถึงอุทยานฯ 500 ม.หรือนำรถจอดบริเวณลานจอดรถที่ทางอุทยานฯ จัดให้ แล้วจึง นั่งรถสองแถวท้องถิ่นที่จอดรอรับนักท่องเที่ยวบริเวณทางเข้าอุทยานฯ เพียงท่านละ 10 บาท(ทั้งขึ้นและลง) โดย รถจะจอดให้ท่านลง ณ.จุดท่องเที่ยวต่าง ๆและท่านสามารถ ขึ้น-ลง รถคันใด ๆ ก็ได้ โดยขากลับลงมา รถฯ จะส่งท่านยังจุดเดิมที่ท่านขึ้นครั้งแรก






10 แหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ช่วงฤดูฝน

               ใครว่า....หน้าฝนต้องนั่งกร่อย ได้แค่มองแต่หน้าต่าง หากแต่ใต้ผืนฟ้าช่วงหน้าฝนมีเรื่องมหัศจรรย์ให้นักท่องเที่ยวได้ค้นหาอีกเยอะ

           
 "เที่ยวป่าและน้ำตกกรุงชิง"



อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว



 อุทยานแห่งชาติเชียงดาวและดอยผาแดง




อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า


 ล่องแก่งลำน้ำเข็ก 


"แก่งหินเพิง"


 วังตะไคร้ 

 เมืองอุ้มผาง


  ทีลอซู















อุทยานแห่งชาตินำ้หนาว


          อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวซึ่งความแปลกตาของป่าผืนนี้คือ ป่าสน ที่อายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี ทำให้ต้นสนที่นี่สูงลิบตา 30-40 เมตรตระหง่านเรียงรายตัดกับพื้นหญ้าเขียวขจีบนภูเขาเพชรบูรณ์ที่สลับซับซ้อน ผสมกับอากาศหนาวเย็นปกคลุมตลอดปี เย้ายวนให้นักท่องเที่ยวเร่งฝีเท้าเข้ารับความสดชื่นในป่าผืนนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก